อิทธิพลของวัฒนธรรมดนตรี : เสียงสะท้อนแห่งยุคสมัยสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ในงานวิจัยสร้างสรรค์บทเพลงเทิดเกียรติ สมเด็จเจ้าพระยา มหาบรุษรัตโนดม สำหรับวงออร์เคสตร้า
Item
ชื่อเรื่อง
อิทธิพลของวัฒนธรรมดนตรี : เสียงสะท้อนแห่งยุคสมัยสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์
ในงานวิจัยสร้างสรรค์บทเพลงเทิดเกียรติ สมเด็จเจ้าพระยา มหาบรุษรัตโนดม สำหรับวงออร์เคสตร้า
ในงานวิจัยสร้างสรรค์บทเพลงเทิดเกียรติ สมเด็จเจ้าพระยา มหาบรุษรัตโนดม สำหรับวงออร์เคสตร้า
ลิขสิทธิ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ประเภท
บทความ
ผู้แต่ง
เอกชัย พุหิรัญ
วันที่
2566-03-28
รายละเอียด
แเหล่งเรียนรู้ของดนตรีไทยในสมัยสมเด็จเจ้าพระยานั้น ผู้เชี่ยวขาญใด้แบ่งออกตามลักษณะของสำนักได้ ๓ รูปแบบ คือ ๑ สำนักวัง หมายถึง สำนักที่อยู่ภายใต้สังกัดวังของพระเจ้าแผ่นดินและพระราชวงศ์ ๒) สำนักบ้าน หมายถึง สำนักที่สังกัดบ้านของชาวบ้านและบ้านของขุนนาง
๓) สำนักวัด หมายถึง ในวัดแต่ละวัดจะมีวงปี่พาทย์ประจำวัด โดยแต่ละสำนักก็จะผลิตบุคลากรด้านดนตรีไทยมากมาย ในสำนักวังหรือสำนักบ้านนั้น หากเรียกแบบคนในยุคสมัยนั้นจะเรียกว่า วังหลวง วังเจ้า และเรือนราษฎร์ โดยแต่ละวงจะมีครูที่มีชื่อเสียงควบคุมวง เช่น วงกรมมหรสพ
มีพระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) เป็นผู้ควบคุม มีนักดนตรี ศิลปิน ที่มีชื่อเสียง อาทิ พระยาเสนาะดุริยางค์ (แช่ม สุนทรวาทิน) พระเพลงไพเราะ (โสมสุวาทิต หลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ตุริยะชีวิน) หลวงเสียงเสนาะกรรณ (พัน มุทตวาภัย) หรือ วงวังบูรพา ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าฯ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช จะมี จางวางศร (นายศร ศิลปบรรเลง หรือหลวงประดิษฐ์ไพเราะ) เป็นผู้ควบคุมวง หรือวงวังบางขุนพรหมของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต จะมีจางวางทั่ว (นายทั่ว พาทยโกศล) เป็นผู้ควบคุมวง เป็นต้น ในมิติของการเชื่อมโยงระหว่างสำนักวังกับสำนักบ้านนั้น ตระกูลบุนนาค และวงดนตรีของสำนักบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ถือว่าเป็นสายสำคัญที่สุด เพราะว่าได้สังกัดอยู่ในกรมมหาดเล็ก โดยมีหน้าที่การบรรเลงแบ่งเป็นเวร ทั้งหมด ๔ เวร คือ เวรศักดิ์ เวรสิทธิ์ เวรฤทธิ์ เวรเดช โดยจะมีนักดนตรีประจำในแต่ละเวร มีผู้ควบคุม นักดนตรีทั้งหมด คือ จางวางมหาดเล็ก มนตรีสุริยวงศ์ วรวงศ์พิพัฒน์ เป็นคนในตระกูลบุนนาค ซึ่งมีตำแหน่งยศข้าราชการชั้นสูงในกรมมหาดเล็ก ซึ่งเทียบเท่าตำแหน่ง ผู้กำกับการหรือตำแหน่งหัวหน้าข้ารับใช้ของเจ้านายชั้นบรมวงศ์หรือทรงกรม ทำให้ นักดนตรีและครูดนตรีชำนาญการที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้น จะสังกัดอยู่บ้านสมเด็จเจ้าพระยาทั้งสิ้น อาทิ ครูทัด ซึ่งเป็นนักร้องที่มีชื่อเสียงมากในสมัยนั้น และเป็น ผู้เรียบเรียงประดิษฐ์บทร้องและบทรับของเพลงสุรินทราหูสามชั้น พระประดิษฐ์ไพเราะหรือครูมีแขก (มี ดุริยางกูร) ผู้แต่งเพลงเชิดจีน ที่มีชื่อเสียงและนิยมบรรเลง มาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีบทเพลงที่สำคัญมากอีกบทหนึ่งที่พระประดิษฐ์ไพเราะท่านแต่งในระหว่างทำงานอยู่ที่สำนักบ้านของสมเด็จเจ้าพระยา คือ เพลงพระอาทิตย์ชิงดวง ซึ่งเป็นลักษณะเพลงลา เพื่อเป็นคุณานุสรณ์แด่สมเด็จเจ้าพระยาฯ ประเภทเพลงลานั้นหมายถึง เพลงที่จะบรรเลงและขับร้องเป็นเพลงสุดท้ายก่อนจบการแสดง บทร้องจะมีความหมายในเชิงอาลัย ร่ำลาเมื่อจะต้องจากกัน หรือให้ศีลให้พรแก่ผู้ฟัง เพลงลาจะนิยมใช้บทสร้อย โดยมีการ "ว่าดอก" ตามอย่างสักวา เมื่อ นักร้องร้องบทสร้อยหรือว่าดอกก็จะร้องไปจนจบวรรค จากนั้นก็จะมีเครื่องดนตรี ประเภทใดประเภทหนึ่งบรรเลงเลียนเสียงร้อง สลับกันไปโดยเป็นการอวดฝีมือความ สามารถของนักดนตรี เพลงที่นิยมนำมาบรรเลง ได้แก่ เพลงเต่ากินผักบุ้ง เพลงนกขมิ้น เพลงอกทะเล เพลงพระอาทิตย์ชิงดวง โดยถือได้ว่าเพลงพระอาทิตย์ชิงดวงจะได้ รับความนิยมสูงสุดในการนำมาบรรเลง โดยจะเห็นได้จากการที่สำนักบ้านต่าง ๆ นำมาใส่บทร้องที่ไม่เหมือนกันในแต่ละบ้าน...
ที่มา : เอกชัย พุหิรัญ. (๒๕๖๓). อิทธิพลของวัฒนธรรมดนตรี : เสียงสะท้อนแห่งยุคสมัยสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ในงานวิจัยสร้างสรรค์บทเพลงเทิดเกียรติ สมเด็จเจ้าพระยา มหาบรุษรัตโนดม สำหรับวงออร์เคสตร้า. ใน ศรีสมเด็จ ๖๓ (๗๖-๗๙). สมาคมศิษย์เก่าบ้านสมเด็จเจ้าพระยาในพระบรมชูปถัมภ์.
๓) สำนักวัด หมายถึง ในวัดแต่ละวัดจะมีวงปี่พาทย์ประจำวัด โดยแต่ละสำนักก็จะผลิตบุคลากรด้านดนตรีไทยมากมาย ในสำนักวังหรือสำนักบ้านนั้น หากเรียกแบบคนในยุคสมัยนั้นจะเรียกว่า วังหลวง วังเจ้า และเรือนราษฎร์ โดยแต่ละวงจะมีครูที่มีชื่อเสียงควบคุมวง เช่น วงกรมมหรสพ
มีพระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) เป็นผู้ควบคุม มีนักดนตรี ศิลปิน ที่มีชื่อเสียง อาทิ พระยาเสนาะดุริยางค์ (แช่ม สุนทรวาทิน) พระเพลงไพเราะ (โสมสุวาทิต หลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ตุริยะชีวิน) หลวงเสียงเสนาะกรรณ (พัน มุทตวาภัย) หรือ วงวังบูรพา ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าฯ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช จะมี จางวางศร (นายศร ศิลปบรรเลง หรือหลวงประดิษฐ์ไพเราะ) เป็นผู้ควบคุมวง หรือวงวังบางขุนพรหมของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต จะมีจางวางทั่ว (นายทั่ว พาทยโกศล) เป็นผู้ควบคุมวง เป็นต้น ในมิติของการเชื่อมโยงระหว่างสำนักวังกับสำนักบ้านนั้น ตระกูลบุนนาค และวงดนตรีของสำนักบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ถือว่าเป็นสายสำคัญที่สุด เพราะว่าได้สังกัดอยู่ในกรมมหาดเล็ก โดยมีหน้าที่การบรรเลงแบ่งเป็นเวร ทั้งหมด ๔ เวร คือ เวรศักดิ์ เวรสิทธิ์ เวรฤทธิ์ เวรเดช โดยจะมีนักดนตรีประจำในแต่ละเวร มีผู้ควบคุม นักดนตรีทั้งหมด คือ จางวางมหาดเล็ก มนตรีสุริยวงศ์ วรวงศ์พิพัฒน์ เป็นคนในตระกูลบุนนาค ซึ่งมีตำแหน่งยศข้าราชการชั้นสูงในกรมมหาดเล็ก ซึ่งเทียบเท่าตำแหน่ง ผู้กำกับการหรือตำแหน่งหัวหน้าข้ารับใช้ของเจ้านายชั้นบรมวงศ์หรือทรงกรม ทำให้ นักดนตรีและครูดนตรีชำนาญการที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้น จะสังกัดอยู่บ้านสมเด็จเจ้าพระยาทั้งสิ้น อาทิ ครูทัด ซึ่งเป็นนักร้องที่มีชื่อเสียงมากในสมัยนั้น และเป็น ผู้เรียบเรียงประดิษฐ์บทร้องและบทรับของเพลงสุรินทราหูสามชั้น พระประดิษฐ์ไพเราะหรือครูมีแขก (มี ดุริยางกูร) ผู้แต่งเพลงเชิดจีน ที่มีชื่อเสียงและนิยมบรรเลง มาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีบทเพลงที่สำคัญมากอีกบทหนึ่งที่พระประดิษฐ์ไพเราะท่านแต่งในระหว่างทำงานอยู่ที่สำนักบ้านของสมเด็จเจ้าพระยา คือ เพลงพระอาทิตย์ชิงดวง ซึ่งเป็นลักษณะเพลงลา เพื่อเป็นคุณานุสรณ์แด่สมเด็จเจ้าพระยาฯ ประเภทเพลงลานั้นหมายถึง เพลงที่จะบรรเลงและขับร้องเป็นเพลงสุดท้ายก่อนจบการแสดง บทร้องจะมีความหมายในเชิงอาลัย ร่ำลาเมื่อจะต้องจากกัน หรือให้ศีลให้พรแก่ผู้ฟัง เพลงลาจะนิยมใช้บทสร้อย โดยมีการ "ว่าดอก" ตามอย่างสักวา เมื่อ นักร้องร้องบทสร้อยหรือว่าดอกก็จะร้องไปจนจบวรรค จากนั้นก็จะมีเครื่องดนตรี ประเภทใดประเภทหนึ่งบรรเลงเลียนเสียงร้อง สลับกันไปโดยเป็นการอวดฝีมือความ สามารถของนักดนตรี เพลงที่นิยมนำมาบรรเลง ได้แก่ เพลงเต่ากินผักบุ้ง เพลงนกขมิ้น เพลงอกทะเล เพลงพระอาทิตย์ชิงดวง โดยถือได้ว่าเพลงพระอาทิตย์ชิงดวงจะได้ รับความนิยมสูงสุดในการนำมาบรรเลง โดยจะเห็นได้จากการที่สำนักบ้านต่าง ๆ นำมาใส่บทร้องที่ไม่เหมือนกันในแต่ละบ้าน...
ที่มา : เอกชัย พุหิรัญ. (๒๕๖๓). อิทธิพลของวัฒนธรรมดนตรี : เสียงสะท้อนแห่งยุคสมัยสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ในงานวิจัยสร้างสรรค์บทเพลงเทิดเกียรติ สมเด็จเจ้าพระยา มหาบรุษรัตโนดม สำหรับวงออร์เคสตร้า. ใน ศรีสมเด็จ ๖๓ (๗๖-๗๙). สมาคมศิษย์เก่าบ้านสมเด็จเจ้าพระยาในพระบรมชูปถัมภ์.
รูปแบบ
application/pdf
แหล่งที่มา
อ 378.593 ม246ศ 2563
ภาษา
tha
สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
หัวเรื่อง
บรมมหาศรีสุริยวงศ์, สมเด็จเจ้าพระยา, 2351-2425
ดนตรี
วงออร์เคสตร้า
บุคคลสำคัญ
คอลเลกชั่น
เอกชัย พุหิรัญ .อิทธิพลของวัฒนธรรมดนตรี : เสียงสะท้อนแห่งยุคสมัยสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ในงานวิจัยสร้างสรรค์บทเพลงเทิดเกียรติ สมเด็จเจ้าพระยา มหาบรุษรัตโนดม สำหรับวงออร์เคสตร้า. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, accessed December 5, 2024, https://455744.minerockhongkong.tech/s/library/item/2644