ชุมชน"ข้าหลวงเดิม" บนเส้นทางคมนาคม"คลองด่าน"ฝั่งธนบุรี แม่น้ำลำคลองสายประวัติศาสตร์

Item

ชื่อเรื่อง

ชุมชน"ข้าหลวงเดิม" บนเส้นทางคมนาคม"คลองด่าน"ฝั่งธนบุรี แม่น้ำลำคลองสายประวัติศาสตร์

ประเภท

บทความ

วันที่

2566-08-22

รายละเอียด

ชุมชน "ข้าหลวงเดิม" อยู่บนเส้นทางคมนาคม "คลองด่าน" อันเป็นแม่น้ำลำคลองสายประวัติศาสตร์ เส้นทางคมนาคม "คลองด่าน" มีชื่อเรียกต่างกันอย่างน้อย 2 ชื่อ คือ ต้นคลองเรียก คลองด่าน ส่วนท้ายคลองเรียก คลองสนามชัย แต่บางทีเรียก คลองสนามชัย ทั้งหมดตั้งแต่ต้นจนท้าย ความสำคัญของเส้นทางคมนาคมนี้อยู่ที่เชื่อมแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณบางกอก (ผ่านคลองบางกอกใหญ่) กับแม่น้ำท่าจีนที่สมุทรสาครที่ออกอ่าวไทย แล้วไปเชื่อมแม่น้ำแม่กลองที่สมุทรสงครามขึ้นราชบุรี และกาญจนบุรี ถึงชายแดนตะวันตกทางด่านเจดีย์สามองค์
ชุมชน"ข้าหลวงเดิม"ที่บางนางนอง บนเส้นทางคลองด่านมีย่านที่เป็นชุมชน "ข้าหลวงเดิม" ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 อยู่ด้วย
ชุมชน "ข้าหลวงเดิม" เคยมีชื่อเรียก (อย่างกวีโวหาร) เก่าแก่ที่สุดอยู่ในโคลงกำสรวลสมุทร (ยุคต้นกรุงศรีอยุธยา) วรรคหนึ่งว่า "นองชลเนตร" แต่ปากชาวบ้านคงเรียก "นางนอง" หรือ "บางนางนอง" สืบมาดังมีหลักฐานอยู่ในกลอนเพลงยาวนิราศฯ ของรัชกาลที่ 1 และกวียุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เช่น พระยาตรัง, นรินทร์อิน, สุนทรภู่ ฯลฯ ทุกวันนี้อยู่ในเขตจอมทอง มีวัดสำคัญอยู่กลุ่มเดียวเกี่ยวข้องกัน 3 วัด คือ วัดราชโอรส (หรือวัดจอมทอง), วัดหนัง, และวัดนางนอง

ที่มา : สุวรรณภูมิ สังคมวัฒนธรรม: ชุมชน"ข้าหลวงเดิม" บนเส้นทางคมนาคม"คลองด่าน"ฝั่งธนบุรี แม่น้ำลำคลองสายประวัติศาสตร์. (2551,25 ธันวาคม ). มติชน, 21.

รูปแบบ

application/pdf

ภาษา

tha

สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

หัวเรื่อง

คลองด่าน
คลองสนามชัย
เจ้าจอมมารดาเรียม
คลองประวัติศาสตร์

คอลเลกชั่น

ชุมชน"ข้าหลวงเดิม" บนเส้นทางคมนาคม"คลองด่าน"ฝั่งธนบุรี แม่น้ำลำคลองสายประวัติศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, accessed December 5, 2024, https://455744.minerockhongkong.tech/s/library/item/2705

นำออกข้อมูล :