ทะแยมอญ

Item

ชื่อเรื่อง

ทะแยมอญ

วันที่

2566-11-20

รายละเอียด

ทะแยมอญ เป็นชื่อที่คนไทยเรียกการแสดงอย่างหนึ่งของคนมอญ ซึ่งน่าจะเพี้ยนมาจากภาษามอญว่า “แตะเหยห์” หมายถึง การขับร้อง
ทะแยมอญเป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านของชาวมอญที่มีลักษณะเป็นเพลงปฏิพากย์ คือการร้องโต้ตอบกันระหว่างชายหญิง คล้ายกับการเล่นเพลงลำตัด เพลงฉ่อย เพลงอีแซว ฯลฯ นักร้องฝ่ายชาย (แหม็ะแขวกนิฮ์เตราะฮ์) และนักร้องฝ่ายหญิง (แหม็ะแขวกนิฮ์แปรา) ร้องโต้ตอบกันเป็นคู่ ๆ พร้อมกับการร่ายรำประกอบเนื้อร้องเกี่ยวกับพุทธประวัติ นิทานชาดก และประวัติศาสตร์ นำมาผูกเป็นเรื่องราวขับร้องแทนการเล่า มีรูปแบบการแสดง ๓ ขั้นตอน คือ พิธีบูชาครู บทไหว้ครู และขับร้องโต้ตอบกันระหว่างชาย - หญิง ด้วยคำร้องนั้นซึ่งเดิมเป็นภาษามอญล้วน ๆ แต่ปัจจุบันได้มีการประยุกต์คำร้อง จึงมีทั้งที่เป็นภาษามอญ และที่เป็นภาษามอญปนไทย ซึ่งมักใช้กับทำนองเพลงสมัยใหม่ ปัจจุบันมีคณะแสดงอยู่คณะเดียวคือ “คณะหงส์ฟ้ารามัญ” มีนายกัลยา ปุงบางกระดี่ เป็นหัวหน้าวง วงดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงเรียกว่า “วงโกรจยาม” ประกอบด้วยเครื่องดนตรี ๕ ชิ้น คือ ซอ (โกร) จะเข้มอญ (จยาม) ขลุ่ย (อะโลด) เปิงมาง (ปุงตัง) และฉิ่ง (หะเดหรือคะเด) และเนื่องจากมีการประยุกต์ทำนองเพลงสมัยใหม่มาใช้ร้องจึงต้องเพิ่มซอด้วงทำทำนองอีก ๑ ชิ้น โดยปรับเสียงให้เข้ากับซอมอญ และยังเพิ่ม ฉาบเล็ก กรับ และกลองรำวง เป็นเครื่องประกอบจังหวะ ทะแยมอญสามารถแสดงได้ทั้งงานมงคลและงานอวมงคล เนื้อหาของคำร้องจึงแล้วแต่งานที่แสดง ซึ่งแฝงไว้ด้วยคำสอนทางพระพุทธศาสนา และการสอนแนวทางประพฤติ ปฏิบัติตามขนบจารีตของสังคม ตลอดจนเพื่อสร้างความรื่นเริงบันเทิงใจ

ที่มา : https://webportal.bangkok.go.th/culture/page/sub/12424/คู่มือผู้ใช้งานระบบหลังบ้าน_Bangkok-PORTALpdf

รูปแบบ

application/pdf

ภาษา

tha

สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

หัวเรื่อง

ทะแยมอญ
ศิลปะการแสดง--มอญ
ชุมชนมอญบางกระดี่
การละเล่นพื้นบ้าน

คอลเลกชั่น

ทะแยมอญ. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, accessed December 5, 2024, https://455744.minerockhongkong.tech/s/library/item/2784

นำออกข้อมูล :