ประเพณีชักพระวัดนางชี
Item
ชื่อเรื่อง
ประเพณีชักพระวัดนางชี
วันที่
2566-11-20
รายละเอียด
งานประเพณีชักพระนั้น เริ่มในสมัยที่สมเด็จพระรูปศิริโสภาคย์ มหานาคนารี พระชนนีของสมเด็จพระอมรินทรา บรมราชินี ในรัชกาลที่ ๑ เสด็จออกมาบวชเป็นชีที่วัดนางชี พระองค์ได้พบว่ามีพระบรมสารีริกธาตุประดิษฐานอยู่ จึงได้จัดให้มีการสมโภชขึ้น โดยจัดให้มีพิธีถวายน้ำสรง และพิธีแห่พระบรมสารีริกธาตุไปตามคลองด่าน คลองบางกอกใหญ่ คลองชักพระ คลองบางกอกน้อย แม่น้ำเจ้าพระยา วกกลับเข้าคลองบางกอกใหญ่ และเลี้ยวซ้ายเข้าคลองด่าน กลับวัดนางชี จนเกิดเป็นประเพณีแห่และสมโภชพระบรมสารีริกธาตุตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ส่วนคำว่า “ชักพระ” นั้นมาจากการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุจากไปประดิษฐานไว้บนเรือพิธี ที่เรียกว่า “เรือองค์พระ” หรือ “เรือพระ” สมัยก่อนนั้นใช้เรือกระแชง ชาวบ้านเรียกว่าเรือเป็ด ด้านหน้าเป็นที่นั่งของพระสงฆ์ ด้านหลังเป็นวงบรรเลงปี่พาทย์ พระบรมสารีริกธาตุประดิษฐานตรงกลางลำเรือ โดยเรือจะได้รับการตกแต่งอย่างพิถีพิถันให้สวยงามอลังการเป็นพิเศษ และแห่ไปทางน้ำ ในอดีตจะมีชาวบ้านและผู้เลื่อมใสศรัทธา ร่วมแรงร่วมใจกันนำเรือมาฉุดชักเรือพระแห่ไปตามลำคลอง ในสมัยพระบริหารบรมธาตุ (ประเสริฐ) เป็นเจ้าอาวาสวัดนางชี ได้เปลี่ยนการลากจูงมาใช้เป็นเรือยนต์ชื่อสระแก้วบ้างน่ำเอ็ง และโอเอ็ง ของโรงสีหน้าวัดอินทาราม และในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ สมัยพระครูประสาทสมาธิคุณเป็นเจ้าอาวาสวัดนางชี ได้กำหนดจัดงานเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมิทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ ทรงครองราชย์ครบ ๕๐ ปี จึงได้ขอความอุปถัมภ์จากกองทัพเรือเพื่อขอเรือพระราชพิธี คือ เรือดั้ง เรือแซง จำนวน ๕ ลำ พร้อมเจ้าหน้าที่ฝีพาย และผู้เห่เรือ มาร่วมขบวนแห่ และใช้เป็นเรือประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุจนถึงปัจจุบัน
ที่มา : ประเพณีชักพระวัดนางชี.(๒๒ ตุลาคม ๒๕๖๑). มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร.webportal.bangkok.go.th/culture/page/sub/12424/คู่มือผู้ใช้งานระบบหลังบ้าน_Bangkok-PORTAL.pdf
ส่วนคำว่า “ชักพระ” นั้นมาจากการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุจากไปประดิษฐานไว้บนเรือพิธี ที่เรียกว่า “เรือองค์พระ” หรือ “เรือพระ” สมัยก่อนนั้นใช้เรือกระแชง ชาวบ้านเรียกว่าเรือเป็ด ด้านหน้าเป็นที่นั่งของพระสงฆ์ ด้านหลังเป็นวงบรรเลงปี่พาทย์ พระบรมสารีริกธาตุประดิษฐานตรงกลางลำเรือ โดยเรือจะได้รับการตกแต่งอย่างพิถีพิถันให้สวยงามอลังการเป็นพิเศษ และแห่ไปทางน้ำ ในอดีตจะมีชาวบ้านและผู้เลื่อมใสศรัทธา ร่วมแรงร่วมใจกันนำเรือมาฉุดชักเรือพระแห่ไปตามลำคลอง ในสมัยพระบริหารบรมธาตุ (ประเสริฐ) เป็นเจ้าอาวาสวัดนางชี ได้เปลี่ยนการลากจูงมาใช้เป็นเรือยนต์ชื่อสระแก้วบ้างน่ำเอ็ง และโอเอ็ง ของโรงสีหน้าวัดอินทาราม และในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ สมัยพระครูประสาทสมาธิคุณเป็นเจ้าอาวาสวัดนางชี ได้กำหนดจัดงานเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมิทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ ทรงครองราชย์ครบ ๕๐ ปี จึงได้ขอความอุปถัมภ์จากกองทัพเรือเพื่อขอเรือพระราชพิธี คือ เรือดั้ง เรือแซง จำนวน ๕ ลำ พร้อมเจ้าหน้าที่ฝีพาย และผู้เห่เรือ มาร่วมขบวนแห่ และใช้เป็นเรือประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุจนถึงปัจจุบัน
ที่มา : ประเพณีชักพระวัดนางชี.(๒๒ ตุลาคม ๒๕๖๑). มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร.webportal.bangkok.go.th/culture/page/sub/12424/คู่มือผู้ใช้งานระบบหลังบ้าน_Bangkok-PORTAL.pdf
รูปแบบ
application/pdf
ภาษา
tha
สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
หัวเรื่อง
ประเพณีชักพระวัดนางชี
งานแห่พระบรมสารีริกธาตุ
คลองชักพระ
วัดนางชี
คอลเลกชั่น
ประเพณีชักพระวัดนางชี. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, accessed December 5, 2024, https://455744.minerockhongkong.tech/s/library/item/2787