วัดประดู่ฉิมพลี อารามแห่งพระดี “หลวงปู่โต๊ะ”
Item
ชื่อเรื่อง
วัดประดู่ฉิมพลี อารามแห่งพระดี “หลวงปู่โต๊ะ”
วันที่
2566-12-26
รายละเอียด
วัดประดู่ฉิมพลี เป็นวัดราษฎร์ ตั้งอยู่เลขที่ 168 ถนนเพชรเกษม แขวงท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ
เดิมเรียกว่า
วัดสิมพลี หรือ วัดฉิมพลี เพราะบริเวณที่ตั้งวัดเต็มไปด้วยต้นงิ้ว ในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (ทัต บุนนาค) เมื่อครั้งดำรงพระยศเป็นพระยาศรีพิพัฒนรัตนราชโกษา จางวางพระคลังสินค้า ซึ่งเป็นผู้มีจิตศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก ได้จัดหาที่ดินและก่อสร้างวัดขึ้น ใช้เวลานานถึง 8 ปี จึงแล้วเสร็จบริบูรณ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 กล่าวกันว่า ในเวลานั้นวัดสิมพลีเป็นวัดราษฎร์ที่ใหญ่และงดงามกว่าวัดราษฎร์โดยทั่วไป
สิ่งสำคัญภายในพระอารามแห่งนี้ อาทิ
• พระอุโบสถ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน กว้าง 13 เมตร ยาว 32 เมตร สร้างตามศิลปะแบบพระราชนิยมในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 คือ ยกฐานสูง 2 ชั้น โดยเป็นฐานของอุโบสถชั้นหนึ่ง และเป็นชานโดยรอบอีกชั้นหนึ่ง มีบันไดที่ฐานทั้ง 4 ด้าน ภายในไม่มีเสาประธาน หลังคาลด 3 ชั้น ไม่มีช่อฟ้า ใบระกา และคันทวย มีเสาราย รับชายคาที่ยื่นมาปกคลุมมุขหน้า-หลังและชาน โดยรอบอุโบสถ หน้าบันเป็นแบบกระเท่เซ ปั้นลายปูนประดับกระเบื้องเคลือบต่างสี
ซุ้มประตูหน้าต่างปั้นลายปูนเป็นลายดอกไม้ใบไม้ บานประตูและหน้าต่างปิดทองประดับกระจกลายยา (คือการขุดพื้นไม้ลงไปให้ได้ตามลวดลายที่กำหนด ตัดกระจกสีต่างส่วนพื้นช่องว่างระหว่างลาย (ช่องไฟ) ปิดทองทึบ เช่น บานประตู บานหน้าต่าง โต๊ะ ตู้ เป็นต้น)
• พระประธานในอุโบสถ มีนามว่า “หลวงพ่อสุโขทัย พระพุทธสัมพันธมุนี” เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง 99 นิ้ว พระพุทธรูปองค์นี้มีเรื่องเล่าว่า เมื่อวัดสร้างแล้วเสร็จนั้น สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ ได้เพียรพยายามเสาะหาพระพุทธรูปที่สวยงาม เพื่อนำมาประดิษฐานในพระอุโบสถ ซึ่งตามประวัติกล่าวว่า เจ้าอธิการวัดอ้อยช้าง หรือวัดบางอ้อยช้าง จังหวัดนนทบุรี ได้อัญเชิญพระพุทธรูป “พระศาสดา” มาจากจังหวัดพิษณุโลก เพื่อนำไปประดิษฐาน ณ วัดอ้อยช้าง แต่ความทราบไปถึงสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ ท่านจึงไปอัญเชิญมาประดิษสถานที่วัดประดู่ฉิมพลี
หากแต่ความทราบไปถึงพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เสียก่อน จึงทรงมีพระบรมราชโองการลงมาว่า เนื่องจาก “พระศาสดา” เป็นพระพุทธรูปสำคัญอยู่คู่กับ “พระชินสีห์” มาก่อน จึงให้อัญเชิญพระศาสดา จากวัดประดู่ฉิมพลี มาไว้ที่วัดบวรนิเวศวิหาร
เมื่อพระประธานของวัดประดู่ฉิมพลีไม่มีแล้ว สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ จึงได้ไปเลือกหาพระพุทธรูปที่มีลักษณะพุทธศิลป์ที่สวยงาม และมีขนาดเท่ากับ “พระศาสดา” จากวัดอ้อยช้าง เป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะศิลปะสุโขทัย พระพักตร์เอิบอิ่ม ผิวองค์พระดั่งทองคำ จึงได้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ ณ พระอุโบสถ วัดประดู่ฉิมพลี และได้ตั้งชื่อพระพุทธรูปองค์นี้ว่า “พระสุโขทัย” หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “หลวงพ่อสุโขทัย”
• พระวิหาร เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน จำนวน 2 หลัง กว้าง 6.10 เมตร ยาว 17.30 เมตร ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันตก 1 หลัง เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ และด้านทิศตะวันออก 1 หลัง เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางประทับยืน
• เจดีย์กลมทรงรามัญ เป็นเจดีย์กลม แต่ฐานกบบัลลังก์เป็นแปดเหลี่ยม มีบัวประดับที่เชิงระฆังที่เหนือบัลลังก์ และที่ใต้ปลียอด มีเครื่องประดับดังเช่นเจดีย์รามัญทั่วไป เจดีย์นี้สร้างไว้เหนือเรือนตึกแปดเหลี่ยม มีเสารายและชานโดยรอบ ภายในประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลอง
• ศาลาราชสังวราภิมณฑ์ เป็นอาคารทรงไทย ก่ออิฐถือปูน 2 ชั้น กว้าง 11 เมตร ยาว 16.50 เมตร เป็นที่ประดิษฐานรูปหล่อเหมือนพระราชสังวราภิมณฑ์ หรือหลวงปู่โต๊ะ อดีตเจ้าอาวาส
วัดประดู่ฉิมพลีเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง ในช่วงที่พระราชสังวราภิมณฑ์(โต๊ะ อินฺทสุวณฺโณ) เป็นเจ้าอาวาส ตั้งแต่พ.ศ. 2456 - 2524 รวมเวลานานถึง 68 ปี พระราชสังวราภิมณฑ์ หรือที่ชาวบ้านต่างเรียกขานกันว่า “หลวงปู่โต๊ะ” เป็นพระมหาเถระผู้ถึงพร้อมด้วยศีลาจารวัตร จนเป็นที่เคารพเลื่อมใสศรัทธาของมหาชน
เมื่อครั้งที่หลวงปู่โต๊ะยังมีชีวิตอยู่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ ได้ทรงมีพระราชศรัทธาเลื่อมใสในปฏิปทาและจริยาวัตรของหลวงปู่เป็นอย่างยิ่ง ได้เสด็จไปประกอบพิธีทางศาสนา และสนทนาธรรมกับพระราชสังวราภิมณฑ์ จนเป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณะ ตราบจนหลวงปู่โต๊ะได้มรณภาพลง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เชิญศพไปตั้งที่ศาลา 100 ปี วัดเบญจมบพิตร พระราชทานเกียรติยศศพเป็นพิเศษเสมอพระราชาคณะชั้นธรรม และพระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์แก่การศพโดยตลอด พร้อมทั้งเสด็จฯ ไปทรงเป็นประธานในการทรงบำเพ็ญพระราชกุศล 7 วัน 50 วัน 100 วัน และตามโอกาสอันควรหลายวาระ
ปัจจุบัน ศาสนสถานและศาสนวัตถุภายในวัด มีสภาพชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา ดังนั้น สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ร่วมกับวัดประดู่ฉิมพลี จึงได้จัดทำโครงการบูรณปฏิสังขรณ์วัด ใช้เวลา 5 ปี เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2558-2563 โดยบูรณปฏิสังขรณ์พระอุโบสถ พระเจดีย์ทรงรามัญ และปรับปรุงภูมิทัศน์เขตพุทธาวาสทั้งหมด
เพื่อให้พุทธสถานแห่งนี้กลับมางดงามเหมือนครั้งอดีตกาล และดำรงไว้ซึ่งโบราณสถานสำคัญคู่บ้านคู่เมือง เพื่อน้อมถวายเป็นพระราชกุศลเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 88 พรรษา 5 ธันวาคม 2558
ที่มา : : MGR Online.(1 มิถุนายน 2559). รักษ์วัดรักษ์ไทย : วัดประดู่ฉิมพลี อารามแห่งพระดี “หลวงปู่โต๊ะ”.https://mgronline.com/dhamma/detail/9590000055024
เดิมเรียกว่า
วัดสิมพลี หรือ วัดฉิมพลี เพราะบริเวณที่ตั้งวัดเต็มไปด้วยต้นงิ้ว ในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (ทัต บุนนาค) เมื่อครั้งดำรงพระยศเป็นพระยาศรีพิพัฒนรัตนราชโกษา จางวางพระคลังสินค้า ซึ่งเป็นผู้มีจิตศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก ได้จัดหาที่ดินและก่อสร้างวัดขึ้น ใช้เวลานานถึง 8 ปี จึงแล้วเสร็จบริบูรณ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 กล่าวกันว่า ในเวลานั้นวัดสิมพลีเป็นวัดราษฎร์ที่ใหญ่และงดงามกว่าวัดราษฎร์โดยทั่วไป
สิ่งสำคัญภายในพระอารามแห่งนี้ อาทิ
• พระอุโบสถ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน กว้าง 13 เมตร ยาว 32 เมตร สร้างตามศิลปะแบบพระราชนิยมในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 คือ ยกฐานสูง 2 ชั้น โดยเป็นฐานของอุโบสถชั้นหนึ่ง และเป็นชานโดยรอบอีกชั้นหนึ่ง มีบันไดที่ฐานทั้ง 4 ด้าน ภายในไม่มีเสาประธาน หลังคาลด 3 ชั้น ไม่มีช่อฟ้า ใบระกา และคันทวย มีเสาราย รับชายคาที่ยื่นมาปกคลุมมุขหน้า-หลังและชาน โดยรอบอุโบสถ หน้าบันเป็นแบบกระเท่เซ ปั้นลายปูนประดับกระเบื้องเคลือบต่างสี
ซุ้มประตูหน้าต่างปั้นลายปูนเป็นลายดอกไม้ใบไม้ บานประตูและหน้าต่างปิดทองประดับกระจกลายยา (คือการขุดพื้นไม้ลงไปให้ได้ตามลวดลายที่กำหนด ตัดกระจกสีต่างส่วนพื้นช่องว่างระหว่างลาย (ช่องไฟ) ปิดทองทึบ เช่น บานประตู บานหน้าต่าง โต๊ะ ตู้ เป็นต้น)
• พระประธานในอุโบสถ มีนามว่า “หลวงพ่อสุโขทัย พระพุทธสัมพันธมุนี” เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง 99 นิ้ว พระพุทธรูปองค์นี้มีเรื่องเล่าว่า เมื่อวัดสร้างแล้วเสร็จนั้น สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ ได้เพียรพยายามเสาะหาพระพุทธรูปที่สวยงาม เพื่อนำมาประดิษฐานในพระอุโบสถ ซึ่งตามประวัติกล่าวว่า เจ้าอธิการวัดอ้อยช้าง หรือวัดบางอ้อยช้าง จังหวัดนนทบุรี ได้อัญเชิญพระพุทธรูป “พระศาสดา” มาจากจังหวัดพิษณุโลก เพื่อนำไปประดิษฐาน ณ วัดอ้อยช้าง แต่ความทราบไปถึงสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ ท่านจึงไปอัญเชิญมาประดิษสถานที่วัดประดู่ฉิมพลี
หากแต่ความทราบไปถึงพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เสียก่อน จึงทรงมีพระบรมราชโองการลงมาว่า เนื่องจาก “พระศาสดา” เป็นพระพุทธรูปสำคัญอยู่คู่กับ “พระชินสีห์” มาก่อน จึงให้อัญเชิญพระศาสดา จากวัดประดู่ฉิมพลี มาไว้ที่วัดบวรนิเวศวิหาร
เมื่อพระประธานของวัดประดู่ฉิมพลีไม่มีแล้ว สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ จึงได้ไปเลือกหาพระพุทธรูปที่มีลักษณะพุทธศิลป์ที่สวยงาม และมีขนาดเท่ากับ “พระศาสดา” จากวัดอ้อยช้าง เป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะศิลปะสุโขทัย พระพักตร์เอิบอิ่ม ผิวองค์พระดั่งทองคำ จึงได้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ ณ พระอุโบสถ วัดประดู่ฉิมพลี และได้ตั้งชื่อพระพุทธรูปองค์นี้ว่า “พระสุโขทัย” หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “หลวงพ่อสุโขทัย”
• พระวิหาร เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน จำนวน 2 หลัง กว้าง 6.10 เมตร ยาว 17.30 เมตร ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันตก 1 หลัง เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ และด้านทิศตะวันออก 1 หลัง เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางประทับยืน
• เจดีย์กลมทรงรามัญ เป็นเจดีย์กลม แต่ฐานกบบัลลังก์เป็นแปดเหลี่ยม มีบัวประดับที่เชิงระฆังที่เหนือบัลลังก์ และที่ใต้ปลียอด มีเครื่องประดับดังเช่นเจดีย์รามัญทั่วไป เจดีย์นี้สร้างไว้เหนือเรือนตึกแปดเหลี่ยม มีเสารายและชานโดยรอบ ภายในประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลอง
• ศาลาราชสังวราภิมณฑ์ เป็นอาคารทรงไทย ก่ออิฐถือปูน 2 ชั้น กว้าง 11 เมตร ยาว 16.50 เมตร เป็นที่ประดิษฐานรูปหล่อเหมือนพระราชสังวราภิมณฑ์ หรือหลวงปู่โต๊ะ อดีตเจ้าอาวาส
วัดประดู่ฉิมพลีเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง ในช่วงที่พระราชสังวราภิมณฑ์(โต๊ะ อินฺทสุวณฺโณ) เป็นเจ้าอาวาส ตั้งแต่พ.ศ. 2456 - 2524 รวมเวลานานถึง 68 ปี พระราชสังวราภิมณฑ์ หรือที่ชาวบ้านต่างเรียกขานกันว่า “หลวงปู่โต๊ะ” เป็นพระมหาเถระผู้ถึงพร้อมด้วยศีลาจารวัตร จนเป็นที่เคารพเลื่อมใสศรัทธาของมหาชน
เมื่อครั้งที่หลวงปู่โต๊ะยังมีชีวิตอยู่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ ได้ทรงมีพระราชศรัทธาเลื่อมใสในปฏิปทาและจริยาวัตรของหลวงปู่เป็นอย่างยิ่ง ได้เสด็จไปประกอบพิธีทางศาสนา และสนทนาธรรมกับพระราชสังวราภิมณฑ์ จนเป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณะ ตราบจนหลวงปู่โต๊ะได้มรณภาพลง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เชิญศพไปตั้งที่ศาลา 100 ปี วัดเบญจมบพิตร พระราชทานเกียรติยศศพเป็นพิเศษเสมอพระราชาคณะชั้นธรรม และพระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์แก่การศพโดยตลอด พร้อมทั้งเสด็จฯ ไปทรงเป็นประธานในการทรงบำเพ็ญพระราชกุศล 7 วัน 50 วัน 100 วัน และตามโอกาสอันควรหลายวาระ
ปัจจุบัน ศาสนสถานและศาสนวัตถุภายในวัด มีสภาพชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา ดังนั้น สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ร่วมกับวัดประดู่ฉิมพลี จึงได้จัดทำโครงการบูรณปฏิสังขรณ์วัด ใช้เวลา 5 ปี เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2558-2563 โดยบูรณปฏิสังขรณ์พระอุโบสถ พระเจดีย์ทรงรามัญ และปรับปรุงภูมิทัศน์เขตพุทธาวาสทั้งหมด
เพื่อให้พุทธสถานแห่งนี้กลับมางดงามเหมือนครั้งอดีตกาล และดำรงไว้ซึ่งโบราณสถานสำคัญคู่บ้านคู่เมือง เพื่อน้อมถวายเป็นพระราชกุศลเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 88 พรรษา 5 ธันวาคม 2558
ที่มา : : MGR Online.(1 มิถุนายน 2559). รักษ์วัดรักษ์ไทย : วัดประดู่ฉิมพลี อารามแห่งพระดี “หลวงปู่โต๊ะ”.https://mgronline.com/dhamma/detail/9590000055024
ภาษา
tha
สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
หัวเรื่อง
วัดประดู่ฉิมพลี
วัดฉิมพลี
วัดประดู่นอก
วัดประดู่ใน
ศาสนาสถาน
คอลเลกชั่น
วัดประดู่ฉิมพลี อารามแห่งพระดี “หลวงปู่โต๊ะ”. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, accessed December 4, 2024, https://455744.minerockhongkong.tech/s/library/item/2803