เหลียวมอง…ชุมชนบางไส้ไก่ (หมู่บ้านลาว) ตอนที่ 4 ปลาส้มบ้านลาว
Item
ชื่อเรื่อง
เหลียวมอง…ชุมชนบางไส้ไก่ (หมู่บ้านลาว) ตอนที่ 4 ปลาส้มบ้านลาว
ลิขสิทธิ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ประเภท
บทความ
ผู้แต่ง
จิราภรณ์ หนูสวัสดิ์
วันที่
2566-02-13
รายละเอียด
จากคําบอกกล่าวกันมาว่า ในสมัยสมเด็จพระเจ้าเสือ ได้เคยออกกฎมณเฑียรบาล ให้ทําการอนุรักษ์ปลาตะเพียนไว้ในช่วงฤดูการวางไข่ของปลาตะเพียน เพราะว่าในช่วงเวลานั้นปลาตะเพียน จะมีเนื้อปลาที่อร่อย ส่วนการทําปลาส้มจะต้องทํากันในช่วงฤดูหนาวเท่านั้น เพราะว่าเนื้อปลาจะไม่มีกลิ่น
ชาวลาวเวียงจันทน์ได้มีการถนอมอาหารปลาตะเพียนที่มีก้างเป็นจํานวนมากด้วย “วิธีการทําปลาส้ม” ที่ใช้วิธีการหมักไว้เป็นเวลานานเพื่อที่จะให้ก้างปลานิ่มจนสามารถนํามารับประทานได้หมดทั้งตัว
ปัจจุบันคงเหลือบ้านที่ทําปลาส้มที่มีรสชาติดั้งเดิมซึ่งสืบสานต่อมาจากบรรพบุรุษมีอยู่ประมาณ 2-3 หลัง โดยจะทําปลาส้มไว้ทานกันเองในครอบครัวและเพื่อแจกจ่ายกันเฉพาะในหมู่ญาติโดยทํากันปีละหนึ่งครั้งเท่านั้น
ลักษณะของปลาส้มของหมู่บ้านลาว มีลักษณะคล้ายคลึงกับปลาส้มที่มีขายอยู่ที่ตลาดจังหวัดสระบุรี แต่รสชาติแตกต่างกัน ส่วนปลาส้มที่มีรสชาติเหมือนกันและมีลักษณะคล้ายคลึงกันนั้นจะเป็นปลาส้มของชาวอําเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ หรือที่เรียกกันว่า “ปลาส้มของกํานันจุล”
จึงสันนิษฐานได้ว่า อาจจะเป็นกลุ่มชาวลาวเวียงจันทน์ที่อพยพมาในคราวเดียวกัน แต่ต้องแยกย้ายกระจัดกระจายกันไปตั้งถิ่นฐาน ตั้งบ้านเรือนอยู่นั่นเอง ซึ่งถือได้ว่าเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นทางด้านอาหารของชาวลาวที่เก่าแก่อีกอย่างหนึ่ง
เพื่อเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาศิลปวัฒนธรรม และงานฝีมืออันทรงคุณค่าและสามารถสร้างรายได้ให้กับครอบครัวโดยถือเป็นอาชีพหลักที่คงอยู่มาตั้งแต่ในอดีตจวบจนถึงปัจจุบันนี้ ซึ่งถือว่าเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน คณะกรรมการชุมชนและชาวชุมชนบางไส้ไก่บ้านสมเด็จ จึงเห็นควรให้มีการจัดตั้ง “ศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาชุมชน” ขึ้นที่ชุมชนบางไส้ไก่บ้านสมเด็จ หรือ หมู่บ้านลาว แห่งนี้
ที่มา:
จิราภรณ์ หนูสวัสดิ์. (2565,1 มีนาคม). เหลียวมอง…ชุมชนบางไส้ไก่ (หมู่บ้านลาว) ตอนที่ 4 ปลาส้มบ้านลาว. https://medium.com/@jirapornnoosawas/เหลียวมอง-ชุมชนบางใส้ไก่-หมู่บ้านลาว-ตอนที่-4-ปลาสัมบ้านลาว-bcd02c06925d
ชาวลาวเวียงจันทน์ได้มีการถนอมอาหารปลาตะเพียนที่มีก้างเป็นจํานวนมากด้วย “วิธีการทําปลาส้ม” ที่ใช้วิธีการหมักไว้เป็นเวลานานเพื่อที่จะให้ก้างปลานิ่มจนสามารถนํามารับประทานได้หมดทั้งตัว
ปัจจุบันคงเหลือบ้านที่ทําปลาส้มที่มีรสชาติดั้งเดิมซึ่งสืบสานต่อมาจากบรรพบุรุษมีอยู่ประมาณ 2-3 หลัง โดยจะทําปลาส้มไว้ทานกันเองในครอบครัวและเพื่อแจกจ่ายกันเฉพาะในหมู่ญาติโดยทํากันปีละหนึ่งครั้งเท่านั้น
ลักษณะของปลาส้มของหมู่บ้านลาว มีลักษณะคล้ายคลึงกับปลาส้มที่มีขายอยู่ที่ตลาดจังหวัดสระบุรี แต่รสชาติแตกต่างกัน ส่วนปลาส้มที่มีรสชาติเหมือนกันและมีลักษณะคล้ายคลึงกันนั้นจะเป็นปลาส้มของชาวอําเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ หรือที่เรียกกันว่า “ปลาส้มของกํานันจุล”
จึงสันนิษฐานได้ว่า อาจจะเป็นกลุ่มชาวลาวเวียงจันทน์ที่อพยพมาในคราวเดียวกัน แต่ต้องแยกย้ายกระจัดกระจายกันไปตั้งถิ่นฐาน ตั้งบ้านเรือนอยู่นั่นเอง ซึ่งถือได้ว่าเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นทางด้านอาหารของชาวลาวที่เก่าแก่อีกอย่างหนึ่ง
เพื่อเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาศิลปวัฒนธรรม และงานฝีมืออันทรงคุณค่าและสามารถสร้างรายได้ให้กับครอบครัวโดยถือเป็นอาชีพหลักที่คงอยู่มาตั้งแต่ในอดีตจวบจนถึงปัจจุบันนี้ ซึ่งถือว่าเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน คณะกรรมการชุมชนและชาวชุมชนบางไส้ไก่บ้านสมเด็จ จึงเห็นควรให้มีการจัดตั้ง “ศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาชุมชน” ขึ้นที่ชุมชนบางไส้ไก่บ้านสมเด็จ หรือ หมู่บ้านลาว แห่งนี้
ที่มา:
จิราภรณ์ หนูสวัสดิ์. (2565,1 มีนาคม). เหลียวมอง…ชุมชนบางไส้ไก่ (หมู่บ้านลาว) ตอนที่ 4 ปลาส้มบ้านลาว. https://medium.com/@jirapornnoosawas/เหลียวมอง-ชุมชนบางใส้ไก่-หมู่บ้านลาว-ตอนที่-4-ปลาสัมบ้านลาว-bcd02c06925d
รูปแบบ
application/pdf
ภาษา
tha
สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
หัวเรื่อง
การถนอมอาหาร
ปลาส้ม
ความเป็นอยู่และประเพณี
คอลเลกชั่น
จิราภรณ์ หนูสวัสดิ์ .เหลียวมอง…ชุมชนบางไส้ไก่ (หมู่บ้านลาว) ตอนที่ 4 ปลาส้มบ้านลาว. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, accessed December 4, 2024, https://455744.minerockhongkong.tech/s/library/item/2830