เขตคลองภาษีเจริญ
Item
ชื่อเรื่อง
เขตคลองภาษีเจริญ
ประเภท
บทความ
ผู้แต่ง
บัณฑิต จุลาสัย
รัชดา โชติพานิช
วันที่
26-08-2567
รายละเอียด
ที่มาของนามเขต
นามเขตภาษีเจริญ มีที่มาจากนามคลองภาษีเจริญ คลองโบราณที่มีมาแต่ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดังพบในพระราชพงศาวดารรัชกาลที่ 4 ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ดังนี้
…เมื่อปีเถาะ พ.ศ.2410 โปรดฯให้พระภาษีสมบัติบริบูรณ์ (ยิ้ม) เจ้าภาษีฝิ่น เปนแม่กลองขุดคลอง กว้าง 7 วา ลึก 5 ศอก แต่คลองบางกอกใหญ่ในกรุงเทพฯ ที่ริมวัดปากน้ำออกไปเมืองนครไชยศรี ที่ตำบลดอนไก่ดี
เปนระยะทาง 620 เส้น หักเงินภาษีฝิ่นพระราชทานเปนค่าจ้างขุดคลอง 112,000 บาท พระราชทานนามว่า คลองภาษีเจริญ …แต่ขุดแล้วเสร็จใน พ.ศ.2415 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดคลองนี้เมื่อเดือน 6 ปีมะเมีย …
การขุดคลองภาษีเจริญในครั้งนั้น มีวัตถุประสงค์สำคัญ เพื่อเป็นเส้นทางคมนาคมขนส่งเป็นหลัก สืบเนื่องมาจาก ข้อกำหนดในสนธิสัญญาเบาว์ริ่ง ทำให้การค้าขายส่งออกกับต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น ซึ่งหนึ่งในผลผลิตทางการเกษตรของไทย ที่เป็นที่ต้องการในต่างประเทศ คือน้ำตาล โดยมีแหล่งรับซื้อรายใหญ่อยู่ที่ สิงคโปร์ บอมเบย์ และอังกฤษ ด้วยเหตุนี้ ทำให้พื้นที่ทางด้านตะวันตกของพระนคร โดยเฉพาะ ริมแม่น้ำนครชัยศรี กลายเป็นแหล่งปลูกอ้อยและผลิตน้ำตาล ดังมีสถิติ แสดงว่า ในช่วง พ.ศ.2393-2410 มีจำนวนโรงงานน้ำตาล มากถึง 23 แห่ง ในยุคสมัยที่ยังอาศัยการคมนาคมทางน้ำเป็นหลักนั้น เพื่อให้การลำเลียงน้ำตาลจากแหล่งผลิต มายังท่าเรือในกรุงเทพฯ สะดวกรวดเร็วขึ้น จึงมีการขุดคลองต่างๆ เชื่อมกับแม่น้ำเจ้าพระยา อาทิ คลองเจดีย์บูชา คลองภาษีเจริญ และคลองดำเนินสะดวก ฯลฯ
นามเขตภาษีเจริญ มีที่มาจากนามคลองภาษีเจริญ คลองโบราณที่มีมาแต่ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดังพบในพระราชพงศาวดารรัชกาลที่ 4 ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ดังนี้
…เมื่อปีเถาะ พ.ศ.2410 โปรดฯให้พระภาษีสมบัติบริบูรณ์ (ยิ้ม) เจ้าภาษีฝิ่น เปนแม่กลองขุดคลอง กว้าง 7 วา ลึก 5 ศอก แต่คลองบางกอกใหญ่ในกรุงเทพฯ ที่ริมวัดปากน้ำออกไปเมืองนครไชยศรี ที่ตำบลดอนไก่ดี
เปนระยะทาง 620 เส้น หักเงินภาษีฝิ่นพระราชทานเปนค่าจ้างขุดคลอง 112,000 บาท พระราชทานนามว่า คลองภาษีเจริญ …แต่ขุดแล้วเสร็จใน พ.ศ.2415 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดคลองนี้เมื่อเดือน 6 ปีมะเมีย …
การขุดคลองภาษีเจริญในครั้งนั้น มีวัตถุประสงค์สำคัญ เพื่อเป็นเส้นทางคมนาคมขนส่งเป็นหลัก สืบเนื่องมาจาก ข้อกำหนดในสนธิสัญญาเบาว์ริ่ง ทำให้การค้าขายส่งออกกับต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น ซึ่งหนึ่งในผลผลิตทางการเกษตรของไทย ที่เป็นที่ต้องการในต่างประเทศ คือน้ำตาล โดยมีแหล่งรับซื้อรายใหญ่อยู่ที่ สิงคโปร์ บอมเบย์ และอังกฤษ ด้วยเหตุนี้ ทำให้พื้นที่ทางด้านตะวันตกของพระนคร โดยเฉพาะ ริมแม่น้ำนครชัยศรี กลายเป็นแหล่งปลูกอ้อยและผลิตน้ำตาล ดังมีสถิติ แสดงว่า ในช่วง พ.ศ.2393-2410 มีจำนวนโรงงานน้ำตาล มากถึง 23 แห่ง ในยุคสมัยที่ยังอาศัยการคมนาคมทางน้ำเป็นหลักนั้น เพื่อให้การลำเลียงน้ำตาลจากแหล่งผลิต มายังท่าเรือในกรุงเทพฯ สะดวกรวดเร็วขึ้น จึงมีการขุดคลองต่างๆ เชื่อมกับแม่น้ำเจ้าพระยา อาทิ คลองเจดีย์บูชา คลองภาษีเจริญ และคลองดำเนินสะดวก ฯลฯ
รูปแบบ
application/pdf
ภาษา
tha
สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
หัวเรื่อง
เขตภาษีเจริญ
คลองภาษีเจริญ
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระภาษีสมบัติบริบูรณ์ (ยิ้ม)
เจ้าจอมมารดาอ่วม
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถพระบรมราชชนนีพันปีหลวง
หลวงสาทรราชายุกต์ (ยม พิศลยบุตร
คลองประวัติศาสตร์
คอลเลกชั่น
บัณฑิต จุลาสัย ., & รัชดา โชติพานิช . (2567). เขตคลองภาษีเจริญ. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, accessed December 4, 2024, https://455744.minerockhongkong.tech/s/library/item/3076