การพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับการเพิ่มศักยภาพการเรียนในรายวิชาทางด้านวิทยาศาสตร์ กรณีศึกษารายวิชาเคมีชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนมัธยมสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

Item

ชื่อเรือง

การพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับการเพิ่มศักยภาพการเรียนในรายวิชาทางด้านวิทยาศาสตร์ กรณีศึกษารายวิชาเคมีชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนมัธยมสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ชื่อเรื่องรอง

The Development of of a decision support system for enhancing learning potential in science course : case study in chemistry for primary 5 of demonstration high school Bansomdejchaopraya Rajabhat University

ผู้แต่ง

กำพล วิภาตนาวิน

หัวเรื่อง

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
ศักยภาพการเรียน
การเรียนออน์ไลน์

รายละเอียดอื่นๆ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจเพื่อเพิ่มศักยภาพการเรียนรู้รายวิชาวิทยาศาสตร์กรณีศึกษารายวิชาเคมี ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสตรีมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 2) พัฒนาแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยศึกษาจากนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 5 ของโรงเรียนมัธยมสาธิต และ 3) เปรียบเทียบกับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้แผนการสอนปกติของครู
ผลการวิจัยพบว่า
1.ระบบสนับสนุนการตัดสินใจเพื่อเพิ่มศักยภาพการเรียนรู้รายวิชาวิทยาศาสตร์กรณีศึกษารายวิชาเคมี ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสตรีมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาสามารถช่วยให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองในทุกกลุ่มตัวอย่าง
2.แบบทดสอบที่นำมาใช้ทดสอบความรู้ก่อนและหลังเรียนของนักเรียนทั้งสองกลุ่มได้ผ่านการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน ซึ่งผลการประเมินอยู่ในเกณฑ์ดีมาก
3.การทดลองนี้แบ่งนักเรียนออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่สอนด้วยโปรแกรมและกลุ่มที่สอนด้วยครู ในแต่ละกลุ่มแบ่งออกเป็นนักเรียนเรียนระดับอ่อน นักเรียนระดับปานกลางและนักเรียนระดับเก่ง นักเรียนทั้งหมดได้ถูกทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนทุกคนและผลการทดสอบ ได้แก่ 1) นักเรียนเรียนระดับอ่อนซึ่งสอนด้วยครูมีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนและหลังเรียน คือ 15.8 คะแนน และ 19.4 คะแนน ในขณะสอนด้วยโปรแกรมมีคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังเรียน คือ 15.5 คะแนน และ 18.3 คะแนน 2) นักเรียนระดับปานกลางที่สอนด้วยครู มีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนและหลังเรียน คือ 25.4 คะแนน และ 25.8 คะแนน ในขณะสอนด้วยโปรแกรม มีคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังเรียน คือ 15.5 คะแนน และ 18.3 คะแนน และ 3) นักเรียนระดับเก่งที่สอนด้วยครู มีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนและหลังเรียนคือ 32.8 คะแนน และ 33.6 คะแนน ในขณะสอนด้วยโปรแกรม มีคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังเรียนคือ 32.2 คะแนน และ 34.8 คะแนน

คำสำคัญ : ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ศักยภาพการเรียน การสอนออนไลน์

ผู้จัดพิมพ์/สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

วันที่ ปีที่จัดพิมพ์

2562

วันที่ผลิต วันที่จัดทำ

2567-11-11

วันที่ปรับปรุงข้อมูล

2567-11-11

วันที่เผยแพร่

2567-11-11

ประเภท

thesis

รูปแบบ

application/pdf

แหล่งที่มา

วน 510 ก581ก 2562

ภาษา

tha

รหัส

ลิขสิทธิ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

Degree (name, level, descipline, grantor)

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
ปริญญาโท
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คอลเลกชั่น

Kumpol Vipatanavin.pdf

กำพล วิภาตนาวิน, “การพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับการเพิ่มศักยภาพการเรียนในรายวิชาทางด้านวิทยาศาสตร์ กรณีศึกษารายวิชาเคมีชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนมัธยมสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา”, มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, 2562, คลังข้อมูลวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, accessed November 28, 2024, https://455744.minerockhongkong.tech/s/research/item/3177